วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาประจำชาติบรูไนที่ควรรู้

ภาษาประจำชาติประเทศบรูไนดารุสซาลาม
(State of Brunei Darussalam)





ภาษาบรูไน

        มีภาษาราชการ  คือ ภาษามาเลย์สำเนียงบรูไน (Malay หรือ BahasaMelayu)และ มีภาษาท้องถิ่น คือ ภาษามาเลย์,ภาษาอังกฤษและจีนภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (มาเลย์: BahasaMelayu) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์-เลสเตMalayหรือBahasaMelayuซึ่งภาษามาเลย์เป็นภาษาที่ชาวบรูไนใช้กันมาก สาเหตุเนื่องจากชาวบรูไนร้อยละ 66 มีเชื้อสายมาเลย์ แต่อย่างไรก็ตามชาวบรูไนส่วนมากสามารถพูดภาษาอังกฤษได้และใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและอีกภาษาหนึ่งที่ชาวบรูไนใช้กันมากรองลงมาคือ ภาษาจีน เนื่องจากมีชาวบรูไนเชื้อสายจีนอยู่ถึงร้อยละ 11 จึงถือได้ว่านอกจากภาษามาเลย์ที่บรูไนใช้เป็นภาษาทางการแล้วภาษารองลงมาคือ ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย
        ในการใช้ภาษาทั่วไปถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
        มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน


ตัวอย่างคำศัพท์
Sikat ซีกัต = หวี
tas ตัซ = กระเป๋าเดินทาง
sampulsurat ซัมปุลซูรัต = ซองจดหมาย
hadiah ฮาเดียะฮ์ = ของขวัญ
topi โตปี = หมวก
geretan เกเรตัน = ไฟแช็ก
jarum จารุม = เข็ม
syampu ชัมปู = แชมพูสระผม
kasut กาซุต = รองเท้า
sabung ซาบุง = สบู่
berusgigi เบอรุซกีกี = แปรงสีฟัน
ubatgigi อูบัตกีกี = ยาสีฟัน
payung ปายุง = ร่ม






เกร็ดความรู้

   อิทธิพลของภาษามาเลย์ในภาษาไทย
ภาษามาเลย์มีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้
ในวรรณคดี ได้แก่ บุหลัน บุหงา ฯลฯ
   ในภาษาพูดทั่วไป เช่น บ้าน รูมาฮ
   ในชื่อจังหวัด เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ฯลฯ


อ้างอิง


เรียบเรียงโดย:นางสาวจุฑาทิพย์  โสพิลา รหัสนักศึกษา 56103304131สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น