วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาประจำชาติลาวที่ควรรู้

ภาษาลาว

https://www.google.co.th/search?q=ธงชาติลาว&espv=2&source

ภาษาลาว  (ພາສາລາວ )
              เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไทย  และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทยซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาลาว  ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว  ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ  (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า  หลัง  บน  ล่าง  ของพยัญชนะ)  และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไทย

สำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวสามารถแบ่งได้ 6 สำเนียงใหญ่ คือ

     1.      ภาษาลาวเวียงจันทน์ (เวียงจันทน์ บริคำไชย)
     2.      ภาษาลาวเหนือ (หลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไชย หลวงน้ำทา)
     3.      ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ (เชียงขวาง หัวพัน)
     4.      ภาษาลาวกลาง (คำม่วน สุวรรณเขต)
     5.      ภาษาลาวใต้ (จำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตปือ)
     6.      ภาษาลาวตะวันตก (ไม่มีใช้ในประเทศลาว ร้อยเอ็ด)


 พยัญชนะและสระในภาษาลาว


https://www.google.co.th/search?q=ภาษาลาวเบื้องต้น&espv=2&biw=1366&bih=667&source



คำทักทาย
สวัสดีค่ะ/ครับ                                  สบายดี  (เจ้า)
(ถาม) สบายดีหรือเปล่า                       เจ้าสบายดีบ่
(ตอบ) ขอบคุณ ฉันสบายดี                   ขอบใจ ข่อยสบายดี
ฉันชื่อปัด แล้วเธอล่ะ ชื่ออะไร                ขอบซื่อปัด แล้วเจ้าเด้ ซื่อหยัง
(ถาม) คุณอยู่ไหน                              เจ้ายู่ไส
(ตอบ) ฉันอยู่ที่เมืองไทย                       ข่อยอยู่ที่เมืองไท
ลาก่อน                                           สบายดี


คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ม่วนซื่น : สนุกสนาน
ฮับต้อน : ต้อนรับ
เฮ็ดเวียก : ทำงาน
ลัก : ขโมย
ฮักแฮง รักมาก
ซุกยู้ : สนับสนุน, ส่งเสริม
น้ำของ : แม่น้ำโขง
ป่องเยี่ยม : หน้าต่าง
แว่นแยง : กระจกส่องหน้า
ตะเว็น : พระอาทิตย์
ขี้เหยื่อ : ขยะ
โฮงแฮม : โรงแรม
นางแพด : นางพยาบาล
โฮงหมอ : โรงพยาบาล
จั๋งได๋ : อย่างไร
เกิบ : รองเท้า
ตั่ง : เก้าอี้
โมง : นาฬิกา
สบู่ฝุ่น : ผงซักฟอก
กะปอมหลวง : ไดโนเสาร์
เจ้ามหาชีวิต : ในหลวง
หมั้นยืน : ยืนยาว
ใบยั่งยืน : ใบประกาศเกียรติคุณ
พูเพียง : ที่สูง
พูดอย : ภูเขา



แหล่งที่มา :

https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาลาว

http://www.dmc.tv/pages/ความรู้รอบตัว/ทำมาค้าขาย-และเป็น-อยู่-คือ...วิถีชาวลาว%20.html

http://www.oceansmile.com/Lao/Pasalao.htm


เรียบเรียงโดย : นางสาวจิราภรณ์  คำสร้าง รหัสนักศึกษา 56103304158 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร






วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาประจำชาติเวียดนามที่ควรรู้

ภาษาเวียดนาม

https://www.google.co.th/search?q=ธงเวียดนาม&espv=2&biw=1366&bih


ภาษาเวียดนาม (tiếng Việt, tiếng Việt Nam, Việt ngữ)

                เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกัน เป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมรในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต์


คำทักทาย
Hello                            สวัสดี                ซิน จ่าว          (Xin Chao)
Thank you                    ขอบคุณ             กาม เอิน         (Cam On)
I'm sorry/Excuse me      ขอโทษ               ซิน โหลย        (Xin Loi)
Good night                   ราตรีสวัสดิ์          จุ๊บ หงู งอน      (Chuc Ngu Ngon)
Please                          ขอเชิญ, กรุณา     ซิน เหม่ย         (Xin Moi)
Goodbye                      ลาก่อน    ตาม     เบียด              (Tam Biet)
See you later!               ไว้พบกันใหม่        แฮน กัพ ไล      (Hen Gap Lai)


คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ดอย หลำ (Doi Lam) : หิวมาก
ค้าด หลำ (Khat Lam) : กระหายน้ำ
งอน หลำ (Ngon Lam) : อร่อยมาก
เนื๊อก โซย (Nuoc Da) : น้ำเปล่า (ต้ม)
เนื๊อก ดา (Nuoc Da) : น้ำแข็ง
เนื๊อก กำ ดา (Nuoc Cam Da) : น้ำแข็งเปล่า
ฉ่า ด๋า (Tra Da) : น้ำแข็งใส่น้ำชา
เฝอ (Pho) : ก๋วยเตี๋ยว
กา เฝ่ (Ca Phe) : กาแฟ
แจ่ (Che) : ชา
เบีย (Bia) : เบียร์
เกิม (Com) : ข้าวสวย
จ๋าว (Chao) : ข้าวต้ม
แบ๋งห์ หมี่ (Banh My) : ขนมปัง
โตย โอม (Toi Om) : ฉันไม่สบาย
โตย บี ดี หง่วย (Toi Bi Di Ngoai) : ฉันท้องเสีย
บี โซด (Bi Sot) : เป็นไข้
บี ยา ไย (Bi Da Day) : ปวดท้อง
แตม ทือ (Tem Thu) : แสตมป์
แซ เฮย (Xe Hoi) : รถ
ทิด บา (Thit Bo) : เนื้อวัว
หมง (Muong) : ช้อน
เหนี้ย (Nia) : ส้อม
เล่ (Ly) : แก้วน้ำ
ตำ เสีย รัง (Tam Xia Rang) : ไม้จิ้มฟัน
เอิ้ก (Ot) : พริก
เนื้อก ม้าม (Nuoc Mam) : น้ำปลา
เย่ เล่า หมิง (Giac Lau Mieng) : กระดาษทิชชู่


แหล่งที่มา :


เรียบเรียงโดย : นางสาวจิราภรณ์  คำสร้าง รหัสนักศึกษา 56103304158 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาประจำชาติเมียนมาร์ที่ควรรู้

ภาษาประจำชาติประเทศเมียนมาร์ (Myanmar)


มารู้จักภาษาเมียนมาร์
         เมียนมาร์มีภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ  เนื่องจากพม่ามีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายจึงยังมีภาษาหลักๆที่ใช้งานในประเทศอีกถึง 18 ภาษา  เช่น  ภาษามอญ  ภาษาอาข่า  ภาษาไทใหญ่  ภาษาม้ง  เป็นต้น
         อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ  33  ตัว  สระลอย  11  ตัว  สระจม  12  รูป  และวรรณยุกต์  4  ตัว  โดยเขียนจากซ้ายไปขวาเช่นเดียวกับอักษรไทย

       สระลอย  คือ  สระที่ไม่ต้องมีพยัญชนะต้นก็สามารถประสมเป็นคำได้สระลอยในภาษาไทย  ได้แก่  ฤ  ฤา  ฦ  ฦา
      สระจม    คือ  สระที่ต้องมีพยัญชนะต้นจึงสามารถประสมเป็นคำได้  สระจมในภาษาไทย  เช่น   -ะ   
-

ตัวอักษรภาษเมียนมาร์
        ตัวอักษรพม่ามีลักษณะเป็นตัวกลมๆ  เพื่อให้ง่ายต่อการจารึกลงบนในลานในสมัยโบราณนั่นเอง



คำทักทายภาษาเมียนมาร์
สวัสดี                    มิงกะลาบา
ราตรีสวัสดิ์             เอ็ก แมต กอง บ่า เซ่

ลาก่อน                  ตุ้ย  บ่า  โอง  แหม
ขอบคุณ                เจ ซู ติน บา แด
สบายดีไหม           เน เก้า บ่า ตะลา
สบายดี                 เน  เก๊า  บ่า  แด
นับเลขแบบภาษาเมียนมาร์
1           -    ติ๊
2            -   นิ
3            -   โตง
4            -   เล
5            -   งา
6            -   ชัก
7            -   คูนิ
8            -   ชิท
9            -   โก
10            -   ตะแส่
100            -   ติทยาร์
1
,000            -  ติทถ่อง
     เกล็ดเล็กเกล็ดน้อย
      คำทักทายว่า  สวัสดี”  ในภาษาพม่าไม่แบ่งช่วงเวลา  เจอใครตอนไหนก็ใช้คำเดียวเลยว่า  มิงกะลาบา
       ชาวพม่าเรียนเด็กผู้ชายและคนหนุ่มโสดว่า  หม่อง  เรียกเด็กผู้หญิงและสาวโสดว่า  ม่ะ  เรียกคนไทยว่า  โยเดีย

แหล่งที่มา :

โดยเรียบเรียงโดย:นางสาวสุพัชรี แก้วเหล็กไหล รหัสนักศึกษา 56103304129 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาประจำชาติกัมพูชาที่ควรรู้

ภาษาประจำชาติประเทศกัมพูชา (Cambodia)
                                


มาทำความรู้จักภาษากัมพูชากัน 

            กัมพูชาใช้ภาษาเขมรราชการ  และมีภาษาที่ใช้งานทั่วไป  ได้แก่  ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส  เวียดนาม  จีน  และไทย ภาษาเขมรได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี  สันสกฤต  สืบเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู  พยัญชนะเขมรมี  33  ตัว ภาษาเขมรประกอบด้วยพยัญชนะและสระ  แต่ไม่มีวรรณยุกต์

ตัวอักษรกัมพูชา


คำทักทายภาษากัมพูชา
 Hello                              สวัสดี                        ซัวซะเด็ย
 Good morning               สวัสดีตอนเช้า       อรุณ  ซัวซะเด็ย
 Good afternoon            สวัสดีตอนบ่าย       ติเวีย  ซัวซะไดย
 Good evening               สวัสดีตอนเย็น        ซาย็วน  ซัวซะเด็ย
 Good night                    ราตรีสวัสดิ์             เรียเตร็ย ซัวซะเด็ย
 Goodbye                       ลาก่อน                    เรียเซินเฮย
 Thank you                    ขอบคุณ                  ออกุน
 How are you?              สบายดีไหม             ซก  ซ็อบบาย  เจีย  เต้  
  I’m fine.                        สบายดี                   ซก   ซ็อบบาย  เจีย  เต้ 

นับเลขแบบภาษากัมพูชา
    เขมรนับเลขแบบเลขฐาน  5  หมายความว่าเวลานับเราจะนำเลขห้ามารวมกับอีกตัวหนึ่ง  เช่น  คำว่า  6  คือ ปรำมวย”  เกิดจาก  ปรำ”  ที่แปลว่า  5  บวกกับ  มวย”  ที่แปลว่า  1
    0           โซน
  
 1            มวย
    2            ปี
    3            เบ็ย
    4            บวน
    5            ปรำ
    6            ปรำมวย
    7            ปรำปี
    8            ปรำเบ็ย
    9            ปรำบวน
   10          ด็อน

       คำศัพท์หลายคำในประเทศไทย  เรานิยมและดัดแปลงมาจากภาษาเขมร  ทั้งคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันและคำราชาศัพท์  ยกตัวอย่างเช่น  ถนน  ตำรวจ  ธำมรงค์  จมูก  กระบือ  บรรทม

แหล่งที่มา :

เรียบเรียงโดย:นางสาวสุพัชรี แก้วเหล็กไหล   รหัสนักศึกษา 56103304129 สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาประจำชาติมาเลเซียที่ควรรู้

ภาษาประจำชาติประเทศมาเลเซีย Malaysia




มารู้จักภาษาประเทศมาเลเซียกัน
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู : Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์-เลสเต
ในการใช้ภาษา ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก

มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซียและบรูไน ว่าใช้ บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน


ตัวอย่างคำศัพท์ภาษามาเลย์ / มลายู

สวัสดี (ตอนเช้า)             Selamat  Pagi              เซอลามัต  ปากี
สวัสดี (ตอนกลางวัน)        Selamat  tengah hari   เซอลามัต  เตอง๊ะ  ฮาร์
สวัสดี (ตอนเย็น)             Selamat  petang          เซอลามัต เปอตัง
สบายดีหรือ                  Apa  khabar  anda?       อาปา  คาบาร์  อันดา
อร่อยไหม                     Adakah  ia  sedap/enak          อากาก๊ะ  อียา  เซอดับ/เอนัก
สนุกหรือเปล่า                Adakah  anda  seronok?         อาดาก๊ะ  อันดา  เซอโรโนะ
ระวัง                          Awas                                 อาวัส
ขอโทษ                        Harap maaf                        ฮารับ  มาอัฟ
ขอบคุณ                      Terima  Kasihเ                     ตอรีมา  กาเซ๊ะ
ขอให้เที่ยวให้สนุ             Semoga  bergembira           เซอมูกา  เบอร์เกิมบีรา
ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ       Selamat  jalan            ซอลามัต  จาลัน
ลาก่อน                        Selamat   tinggal                 เซอลามัต  ติงกัล
แล้วพบกันใหม่               Semoga  berjumpa  lagi       เซอมูกาเบอร์จุลปา  ลากี





แหล่งที่มา  :



เรียบเรียงโดย:นางสาวจิราพร ใยสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 56103304159
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร



วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาประจำชาติอินโดนีเซียที่ควรรู้

ภาษาประจำชาติอินโดนีเซีย Indonesia


มารู้จักประเทศอินโดนีเซีย Indonesia
อินโดนีเซีย : Indonesia หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก
มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor)



มารู้จักภาษาประเทศอินโดนีเซียกัน
ภาษาอินโดนีเซีย  หรือ  Bahasa Indonesia 
เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาจีน และภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอื่นๆ เป็นต้น


คำทักทายภาษาอินโดนีเซีย  

สวัสดี(ตอนเช้า)              เซลามัทปากิ
        สวัสดี(ตอนบ่าย)             เซอ-ลา-มัต -เซียง  
        สวัสดี(ตอนเย็น)              เซ-ลา-มัต -มา-ลัม  
        ราตรีสวัสดิ์                   เซ-ลา-มัต -มา-ลัม  
        ขอบคุณ                      เทริมากาสิ  
        ยินดีที่ได้รู้จัก                 เซลามัน เบอร์จัมพา เดนกัน อันดา      
        พบกันใหม่                    ซัมไพ จำพา ลากิ   
        นอนหลับฝันดี                มิมพิ ยัง อินดา      
        ไม่เป็นไร                      ทิดัก อพา อพา     
        คุณสบายดีไหม              อา-ปา-คา-บา       
        ฉันสบายดี ขอบคุณ          บา-อิก -บา-อิก -ซา-จา                   
        ลาก่อน                        ดา-ดา / เซอ-ลา-มัต -ติง-กัล              
        ขอโทษ                         มา-อัฟ  


    
http://eachlanguagesofasean.weebly.com/uploads/1/7/6/0/17604325/1231289_orig.jpg
         
คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
       
        เปิด                   บู-กา 
         ปิด                   ตู-ตุ๊บ
         ทำงาน               เบอ-ระ-เกอ-จา     
         หิว                    ลา-ปา-ระ   
         กิน                    มา-กัน               
         อิ่ม                    เลิง-กั๊บ                              
         ร้อน                 ปา-นัส       
        หนาว                 ดิน-งิน              
         สบาย                บา-อิก       
        ไม่สบาย              ซา-กิท       
มีความสุข            บา-ฮา-เกีย   
เหนื่อย                จา-เป๊ะ              
นั่ง                     ดู-ดุ๊ก                                         
        เหนื่อย                จา-เป๊ะ      
        นั่ง                     ดู-ดุ๊ก 
         นอน                  ทิ-ดัว-ระ                     
         ยืน                    ดิ-รี   
         เดิน                  จา-ลัน -จา-ลัน      
         วิ่ง                    ลา-รี 
         ฉันกำลังทำงาน             ซา-ยา -เบอ-ระ-เกอ-จา   
         ฉันกำลังทานข้าว           ซา-ยา-มา-กัน-นา-ซี
               
       
แหล่งที่มา:



เรียบเรียงโดย:นางสาวจิราพร ใยสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 56103304159
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร