ภาษาประจำชาติประเทศไทย
ภาษาไทย
มีภาษาราชการ คือ
ภาษาไทยมีภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาภาคกลาง ใต้ เหนือ อีสาน
ภาษาไทยเป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย
และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทยภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท
ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า
ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน สำหรับภาษาตระกูลไทนั้น
ยังมีภาษาถิ่นย่อยหลัก ได้แก่ ภาษาไทยภาคกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยโคราช
ไทยอีสาน และภาษาไทยภาคเหนือ หรือภาษาไทยล้านนา (คำเมือง)
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน
และออกเสียงแยกคำต่อคำ
ทำให้เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจากการออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ
และการสะกดคำที่ซับซ้อน
ภาษาไทยยังมีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
เช่น
-ประปา มาจากคำว่า วอเตอสับไปล (water supply)
-สถานี มาจากคำว่า สเตชั่น (station)
-รถยนตร์มาจากคำว่า รถมอเตอร์คาร์ (motorcar)
-เรือมอเตอร์ มาจากคำว่า เรือมอเตอร์ (motorboat)
-ประมวล จากคำว่า โค้ด (code)
ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ
3 ประเภท
1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
2. หน่วยเสียงสระ
3. หน่วยเสียงวรรณยุกต์
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตารางอักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
อ้างอิง
เรียบเรียงโดย:นางสาวจุฑาทิพย์ โสพิลา รหัสนักศึกษา 56103304131สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น